บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล
เทคโนโลยีการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดังนี้
เทคโนโลยี หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสาร การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร
จากความหมายดังกล่าว สามารถกล่าวขยายอธิบายเพิ่มเติมได้ คือ
เทคโนโลยี (Technology) มีความหมายมาจากคำ 2 คำ คือเทคนิค (Technique) ซึ่งหมายถึง วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า ลอจิก (Logic) ซึ่งหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว (Speed) ความน่าเชื่อถือ (Reliably) และความถูกต้อง ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตาม ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นเพราะเทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร และ โทรคมนาคมเทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีสำหรับการผลิต การจัดการในงานธุรกิจและงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
เทคโนโลยี ในความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ฮาร์ดแวร์ หรือตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม และผู้ทำงานที่ต้องการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน
อย่างไรก็ตาม ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นเพราะเทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร และ โทรคมนาคมเทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีสำหรับการผลิต การจัดการในงานธุรกิจและงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
เทคโนโลยี ในความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ฮาร์ดแวร์ หรือตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม และผู้ทำงานที่ต้องการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน
การสื่อสาร (Communication) แต่เดิมมักได้ยินแต่คำว่า IT หรือ Information Technology เท่านั้นต่อมาได้นำตัว C หรือ Communication เข้ามาร่วมด้วย เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาอย่างมาก และสามารถที่จะนำสื่อสารในเทคโนโลยีได้
การสื่อสารครอบคลุมประเด็นในเรื่ององค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร และมีระบบการสื่อสาร 2 ประเภท คือ ประเภทมีสาย และประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย เทคโนโลยีการสื่อสาร ได้แก่ อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือ (web)
จึงกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง "วิทยาการต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง" กล่าวคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการสารสนเทศ ที่อาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก ตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เพื่อให้ได้สารสนเทศไว้ใช้งานได้อย่างทันเหตุการณ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต การบริการ การบริหารและ การดำเนินงานต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม
ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ เช่น นำมาใช้ในวงการแพทย์ เรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (AgriculturalTechnology) นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่
1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)
2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)
บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร โครงข่าย โทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" (Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทำให้ เกิดสิ่งที่เรียกว่า " การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข" (DigitalRevolution) ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองานกราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด คือสามารถอ่านและส่งผ่านได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนำเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใช้งาน ของผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทำให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization) ด้วยระบบที่มีการทำให้เป็นระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็นสื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"(Interactive)
เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology)
ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ “การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร(Transfer of Information)” เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice) หรือทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และเป็นเครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age) และเป็นสังคมสาร- สนเทศ(Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม (ธวัชชัย พานิชยกรณ์, 2539)
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร
เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี”เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct)ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผลพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell.
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of
craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึง
หมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้
1) การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชกรรม
2) องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ
ข้อดีของเทคโนโลยีการสื่อสาร
1. การสื่อสารและโทรคมนาคมนั้น ส่งผลต่อระบบสังคมการเมื่องในแง่ของการเพิ่มช่องทางเลือกในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนให้มากขึ้น ส่วนในระดับปัจเจกบุคคลนั้นพัฒนาการของเทคโนโลยี การสื่อสารทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ตลอดจนจิตสำนึกทางการเมืองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพรมแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตยอีกต่อไป
2. การขยายตัวของการสื่อสารและโทรคมนาคมได้มีอิทธิพลที่สร้างผลต่อสังคมไทยทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลของ "ทุนนิยมสมัยใหม่" ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทย เกิด "การหลั่งไหลของทุนและข้อมูลข่าวสาร" เข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย
3. การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกติดต่อกันง่านขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ "หมู่บ้านโลก" (global village) และ "วัฒนธรรมโลก" (global culture) ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมหรือประเทศเดียวกัน ทำให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติและค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ จึงเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย
ข้อเสียของเทคโนโลยีการสื่อสาร
1. เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาอาชญากรรมชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมโดยรวม จนรัฐบาลของประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
2. ธุรกิจที่ทำภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศและอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขัดต่อศิลธรรมและจริยธรรมมีมากมาย ทั้งที่ผิดศิลธรรมชัดเจน และที่อยู่ในข่ายหลอกลวงให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ธุรกิจเหล่านี้มาในรูปแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลในระบบออนไลน์ช่วยให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมักจัดทำเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของนิติบุคคล หรือการให้บริการของหน่วยต่างๆ ซึ่งผู้ใช้บริการมักเข้าใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไว้นั้นจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ในความเป็นจริงข้อมูลเหล่านี้อาจถูกละเมิดได้ โดยที่เจ้าของข้อมูลอาจรู้เลยก็ได้
4. อินเทอร์เน็ตนั้นมิได้มีแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว เป็นที่ยอมรับกันว่าความไร้ขอบเขตของการออนไลน์ทำให้เกิดผลในทางลบหลายๆ ประการ ที่เห็นได้ชัดคือปัญหาสื่อลามกอนาจาร การล่อลวง เกมออนไลน์ เป็นต้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งขาดความรู้ ความเข้าใจ และความระมัดระวังตัวในการออนไลน์หรือการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว
ผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคาที่เกิดขึ้นในทางลบมีหลายประการ เช่น
ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรมบนอินเตอร์เนต การแพร่ภาพอนาจารย์บนเครือข่าย การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชน การพนันบนเครือข่าย การพาณิชย์ที่ขัดต่อกฏหมายและศิลธรรม ปัญหาบุคลากรสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น